ไฮโดรโปนิกส์ เทคนิค

   อาจารย์ให้ความสำคัญมากสุดๆในเรื่อง Hydroponics Technique 
ดูครับ

บ้านผักไฮโดร
อาจารย์จาบ ทวียศ (สงวนสิทธิ) Tel 081 441 9642

บ้านผักไฮดดร

แนวคิดในการปลูกผักไฮโดร อยู่ที่ ให้ปุ๋ย A+B เป็นอาหาร
โดยตรงกับราก ในขณะเดียวกันต้องให้อากาศกับรากด้วย
 และน้ำปุ๋ยต้องเย็น ทั้งนี้ต้องประหยัดไฟ/น้ำ ถ้าเราเข้าใจ
จุดสำคัญของการออกแบบไฮโดรโปนิกแล้ว ก็จะทำให้เรา
สามารถออกแบบระบบไฮโดรได้เอง หรือเลือก
ใช้ระบบไฮโดรที่เหมาะสมกับเราได้ 

บ้านผักไฮโดร

ระบบของไฮโดรโปนิกที่ใช้กันอยู่ พอที่จัดได้ถึง5ระบบ  
ซึ่งแต่ละระบบก็มีจุดเด่นแตกต่างกัน แต่สังเกตุให้ดี 
จะเห็นว่าจุดยืนในการออกแบบเหมือนกัน คือ ใช้ปุ๋ย A+B 
เป็นแกน แล้วพยายามให้อากาศที่ราก โดยคำนึงถึงการ
ประหยัดไฟมากสุด หรือพยายามรักษาปั้มน้ำไม่ให้เสียเร็ว
(ปั้มต้องทำงานต่อเนื่อง ถ้าทำๆหยุดๆดูเหมื่อนประหยัดไฟ 
แต่ปั้มจะเสียเร็ว) และนำ้ปุ๋ยต้องเย็น

บ้านผักไฮโดร
















DFT (Deep Float Technique) เป็นระบบแรกๆของการปลูก
ผักไฮโดรโปนิก หลักคือใช้โฟมเป็นตัวพยุงต้นผักให้รากลอย
อยู่ในน้ำปุ๋ย A+B ตลอดเวลา ทั้งนี้การเพิ่มอากาศในรากโดย
ใช้เครื่องทำอ๊อกซิเย้น(แบบในตู้ปลา) ปัจจุบันได้ใช้ระบบนี้ 
กับการเลี้ยงปลาและได้ผักไปในคราวเดียวกัน เรียกว่า 
Aquaponics  คลิกที่ภาพด้านบนดูClipครับ
 

บ้นผักไฮโดร
DRFT( Dynamic Root Floating Technique) 
เป็นการพัฒนาในระบบ DFT ขึ้นมา ในแนวคิดที่จะเพิ่ม
อากาศให้กับรากโดยตรง โดยการยกรากให้ลอยในอากาศ
ประมาณ 3-5ซม. ในขณะที่รากในส่วนอื่นๆยังจมอยู่ในปุ๋ย A+B 
 คลิกที่ภาพด้านบนดูClipครับ

บ้นผักไฮโดร
NFLT(Nutrient Flow Technique) นักวิทยาศาสตร์เริ่ม
เข้าใจแล้วว่า รากพืชคือส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของ
พืช รากนอกจากต้องการอาหารแล้ว มันต้องการอากาศ
อย่างมาก ระบบ NFLT ใช้ปุ๋ย A+B รดผ่านรากให้ชุ่มอยู่
ตลอดเวลา โดยจับรากทั้งหมดให้ลอยขึ้นสามารถสัมผัส
อากาศโดยตรง  ปัจจุบันนิยมปลูกแบบถัง 
คลิกที่ภาพด้านบนดูClipครับ

บ้นผักไฮโดร
NFT(Nutrient Film Technique) จะเป็นการปลูกเฉพาะ
ผักสลัดเท่านั้นที่ได้ผล เพราะปริมาณปุ๋ยไม่มากพอสำหรับ
พืชให้ผล วิธีนี้กำลังเป็นทางเลือกอันดับ1 ของเกษตรกรไทย
 ผู้ที่จะผลิตผักสลัดขาย หลักการก็เหมือน NFLT แต่ให้ปุ๋ย
 A+B ไหลในรางบางๆความสูงประมาณ 3-5mm.สัมผัสกับราก
 วนกลับไปที่บ่อเก็บ (Reservoir)แล้วปั้มใช้ใหม่ 
คลิกที่ภาพด้านบนดูClipครับ

บ้นผักไฮโดร


















FAD(Flood And Drain) ระบบนี้ศูนย์เรียนรู้บ้านผักไฮโดร 
ได้นำมาใช้เป็นหลัก  เพราะจากการศึกษาทั้งหมดระบบนี้
สามารถให้ปุ๋ย A+B ได้มากและในขณะเดียวกัน  ก็สามารถ
ให้อากาศกับรากได้มาก อีกทั้งยังสามารถป้องกันความผิด
พลาดอาจเกิดจากไฟฟ้าดับเป็นเวลานานๆ 
ทุกระบบข้างต้นจะทำให้ผลผลิตเสียทั้งหมด 
ยกเว้น DRFT 
แต่ FDA ศูนย์เรียนรู้บ้านผัก ได้ออกแบบให้ระบบเปลี่ยนจาก 
 FAD เป็น DRFT ขณะเกิดไฟฟ้าดับ    
คลิกที่ภาพด้านบนดูClipครับ