การทำงานไฮโดรโปนิก ภาคสนาม


การทำงานภาคสนาม คืองานประจำวันที่จะต้องทำ คือ 1.ปรับค่า Ph -ของน้ำให้เหมาะกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด และ 2. ปรับค่า EC หรือความเค็มของปุ๋ยให้เหมากับพืชที่ปลูก

EC หรือ Electic Conductivity หน่วยวัดที่นิยม ms/cm ต้องเข้าใจการวัดเป็นเพียงค่าตัวนำไฟฟ้าในน้ำ หรือจะพูดได้ว่าคือเกลือ(ปุ๋ย)ละลายในน้ำ ใส่ปุ๋ยมากก็เค็มมาก และโดยปกติปุ๋ย A-B ที่ใช้กันทุกยี่ห้อก็ไม่แตกต่างกันมากในเรื่องสูตร แต่ต่างเฉพาะสีเท่านั้น

ค่าECที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดดูได้จากตารางการทดลอง(คลิกรูปด้านบนดูตาราง)  การเลือกใช้ค่า EC เช่นในช่วง 1.00-2.50 ให้เราพิจารณาเป็นฤดู ในฤดูร้อน พืชจะคายน้ำออกและดูดอาหารได้มาก ค่า EC ควรควรจะมีการปรับค่า Eอยู่ในค่าต่ำ(1.00) แต่ในฤดูหนาวการดูดอาหารทางรากได้น้อย ก็ควรปรับค่า EC ไปมากขึ้น(2.50)เป็นต้น  

ความบ่อยในการปรับค่า EC ควรทำทุกวันถ้าเป็นไปได้ และควรเปลี่ยนปุ๋ย A+Bในถังประมาณ 1รอบการปลูกหลังเก็บผลผลิต

น้ำดิบที่ใช้กันก็มีความสำคัญ โดยปกติพืชจะดูดอาหารได้ดี ในค่า Ph ประมาณ 5-6.5 การปรับค่า Ph จะใช้กรดไนทริก (NHO3) ถ้าน้ำอยู่ในค่าสูง(เบส) และจะใช้โพแทสเซี่ยมไฮดรอกไซด์(KOH) หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์(NaOH)  แต่บางครั้งอาจใช้ น้ำอักลม COKE แทนได้ชั่วคราว

เป็นที่ภูมิใจมากที่ ศูนย์เรียนรู้บ้านผักไฮโดร ได้ทดสอบและทำกราฟในการปรับค่า EC ขึ้นมาใช้  ทำให้การทำงานในการปรับค่า EC ทำได้ง่ายและเร็ว (คลิกที่ภาพด้านบน DownLoad เลยครับ)